ประชาชนหลายรายร่ำไห้ ด้วยความปิติยินดี กล่าวขอบคุณพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นำกรมคุ้มครองสิทธิฯ ร่วมกับกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จัดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ไกล่เกลี่ย

Uncategorized

🔴「ประชาชนหลายรายร่ำไห้ ด้วยความปิติยินดี กล่าวขอบคุณพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นำกรมคุ้มครองสิทธิฯ ร่วมกับกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม จัดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ไกล่เกลี่ยหนี้ครัวเรือน-หนี้ กยศ. สำเร็จ」

(วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567) ผู้สื่อข่าวรายงานจาก โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น โฮเทล นนทบุรี ว่า เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ผ่านมา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดโครงการมหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม และมอบนโยบายการแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยมี นายเสกสรร สุขแสง อธิบดีกรมบังคับคดี นางสาวเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงยุติธรรม ร่วมให้การต้อนรับ

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวระหว่างการเปิดงานฯ ว่า กระทรวงยุติธรรมรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้นำความทุกข์ของประชาชนมาเปิดพื้นที่ให้เกิดการสมานฉันท์ ที่จะเป็นกระบวนการ “ยุติธรรมทางเลือก” จากจุดยืนของกระทรวงยุติธรรม แสดงบทบาทในการธำรงค์ความยุติธรรมม มากว่า 133 ปี กระทั่ง ปัจจุบันในยุคที่มีพลวัตรการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ด้านความยุติธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำให้แก้วิกฤตอย่างน้อย 4 เรื่อง 1. การแก้ปัญหายาเสพติด 2.การขจัดผู้มีอิทธิพล การทุจริตคอร์รัปชั่น 3.การเอาขนะความยากจน และ 4.การทำให้ประชาชนได้รับการศึกษาภาคบังคับเพื่อให้ “ความยุติธรรม” เกิดความเข้มแข็ง โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับของสังคม

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง กล่าวอีกว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุประชาชนมีหนี้สินภาคครัวเรือน รวมกว่า 16 ล้านล้านบาท ยังไม่นับรวมหนี้สินของสหกรณ์ ของข้าราชการอีกว่า 2.8 ล้านล้านบาท ที่อาจถูกฟ้องบังคับล้มละลาย “หนี้ครัวเรือน” หรือหนี้สินเหล่านี้กำลังสร้างความทุกข์ให้กับประชาชน และยังทำลายการพัฒนาเศรษฐกิจ ผมคิดว่าการแก้ปัญหาหนี้สินเหล่านี้ถือเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ

คนเป็นหนี้ยังต้องใช้หนี้ แต่การใช้หนี้แล้วยังสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะหนี้ กยศ. ที่มีการแก้ไขกฎหมาย จากเดิมให้ลูกหนี้ กยศ.จ่ายเบี้ยปรับ 18% เป็น 0.5 % ลดดอกเบี้ย และลดภาระหนี้ด้วยการชำระเงินนำไปตัดยอดกู้ของเงินต้นมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการปรับความผิดทางแพ่ง ไม่ให้ผู้ค้ำรับภาระหนี้ในกรณีลูกหนี้เสียชีวิต ซึ่งอาจมีผลให้ลูกหนี้บางรายที่ใช้หนี้อย่างต่อเนื่องได้รับเงินคืนจำนวนกว่า 6,000 ล้านบาท

“ปี 2565 ปริมาณคดีที่เข้าสู่กระบวนการในชั้นศาล มีมากถึง 1.8 ล้านคดี ในจำนวนนี้เป็นคดีแพ่ง 1.4 ล้านคดี การแก้กฎหมายอาจลดการถาถมของคดีที่เกิดจากหนี้สินครัวเรือน”

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวอีกว่า นอกจาก หนี้ส่วนบุคคล หนี้การเช่าซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ หนี้บัตรเครดิต ผมยังให้ความสำคัญกับ “หนี้ซื้อบ้าน” โดยวางเป้าหมายให้ประชาชนสามารถมีที่พักอาศัย หรือที่ดินแปลงสุดท้าย อันเป็นหนึ่งใน ปัจจัย 4 ของมนุษย์ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับประขาขน แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง จึงขอฝากให้กรมบังคับคดี และหน่วยงานต่างๆ ขอกระทรวงยุติธรรมในการดูแลปัญหานี้ด้วย

“ผมขอขอบคุณ กรมบังคับคดี กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)และหน่วยงานเครือข่ายสถาบันการเงินต่างๆ ที่เข้าร่วมงาน แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งนอกจากประโยชน์ที่เกิดเป็นผลดีต่อลูกหนี้โดยตรงที่สามารถยุติหรือระงับข้อพิพาทแล้ว ยังมีประโยชน์ ในแง่การแก้ไขปัญหาหนี้ภาพครัวเรือนอย่างยั่งยืน ทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลน้อยลง โดยทุกคนที่มาร่วมงานจะได้รับความช่วยเหลือให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้ภาระหนี้ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนสอดคล้องกับรายได้ ได้เจรจายุติข้อพิพาทด้วยความพึงพอใจ หากตกลงกันได้จะมีผลให้ไม่ถูกฟ้องคดี หรือ งดการบังคับคดี ตลอดจนเกิดการถอนการยึดทรัพย์ ถอนการอายัดสิทธิ์เรียกร้องและถอนการบังคับคดี เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการฟ้องร้องคดี และยังจะทำให้เศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมั่นคงอีกด้วย” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานครั้งนี้มีการเชิญลูกหนี้ พร้อมกับการเชิญฝ่ายเจ้าหนี้ อย่าง กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) และสถาบันการเงินต่างๆ เข้าร่วมอีก 16 แห่ง ได้แก่ธนาคารออมสิน, ธนาคารอาคารสงเคราะห์, ธนาคารกรุงไท, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) , บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท jmt network services จำกัด, บริษัท บริหารสินทรัพย์เจ จำกัด, บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด, บริษัท UOB capital services จำกัด, บริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) และบริษัทโตโยต้า ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น พร้อมการจัดกิจกรรมออกบูธนิทรรศการจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ), สำนักงานกิจการยุติธรรม, กรมบังคับคดี, กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, และหับเผย กรมราชทัณฑ์ รวมถึงการให้คำปรึกษาทางกฎหมายและงานบริการให้ความช่วยเหลือประชาชน ซึ่งกรมบังคับคดี ยังเตรียมจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) และลูกหนี้ครัวเรือน อย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ

สำหรับการจัดงาน “มหกรรมแก้หนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้เช่าซื้อรถยนต์ หนี้สินข้าราชการ หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผิดนัดชำระหนี้เข้าเกณฑ์จะถูกฟ้องดำเนินคดี หรือไม่มีกำลังผ่อนชำระตามสัญญา ได้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย และรู้สิทธิตามกฎหมาย เข้าถึงความยุติธรรม รวมถึงสร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการวางแผน และสร้างวินัยทางการเงินให้ประชาชนเป็นเกราะป้องกันปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน โดยลูกหนี้จะได้รับโปรโมชั่นนอกจากจะไม่ถูกฟ้องคดี ไม่ถูกยึดทรัพย์ ไม่ถูกขายทอดตลาด แล้วยังจะได้รับสิทธิพิเศษ ส่วนลดจบหนี้ ส่วนลดดอกเบี้ย ลดค่างวดและขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ภายในงานมีการให้บริการต่างๆ มายมาย เช่น การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย และการสร้างการตระหนักรู้ เกี่ยวกับ การวางแผน และสร้างวินัยทางการเงิน การจัดนิทรรศการประชาสัมพันธ์ ให้คำปรึกษาทางกฎหมายหรือการเงินของ 24 หน่วยงาน และการให้บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งก่อนฟ้องและหลังศาลมีคำพิพากษา โดยมีภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จำนวน 13 สถาบัน ประกอบด้วย (1) ธนาคารกรุงไทย (KTB) (2) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) (3) บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจเค จำกัด (JK) (4) บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด (JAM) (5) บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) (JMT) (6) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) (7) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) (8) ธนาคารออมสิน (GSB) (9) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) (10) ธนาคารอิสลาม (ISBT) (11) โตโยต้า ลีสซิ่ง (12) ธนาคารไทยพาณิชย์ (13) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

นอกจากนี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมรับฟังการไกล่เกลี่ยคดีลูกหนี้ด้วย โดยได้ให้คำแนะนำแก่ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน ถึงช่องทางการช่วยเหลือประชาชนผ่านกระทรวงยุติธรรม ระหว่างการเยี่ยมชมห้องสำหรับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้องดำเนินคดีด้วย ทั้งนี้ ประชาชนหลายรายที่ได้รับการลดยอดหนี้ ได้กล่าวขอบคุณและร่ำไห้ต่อหน้า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมด้วยความปิติยินดี ด้วย