น่าน ผู้บริหารกรมชลประทานนำสื่อมวลชนส่วนกลางและสื่อท้องถิ่นลงพื้นที่สัญจร จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ โครงการชลประทานน่าน ต.ไชยสถาน อ.เมืองน่าน จ.น่าน

Uncategorized

น่าน ผู้บริหารกรมชลประทานนำสื่อมวลชนส่วนกลางและสื่อท้องถิ่นลงพื้นที่สัญจร จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 ณ โครงการชลประทานน่าน ต.ไชยสถาน อ.เมืองน่าน จ.น่าน


นายสกัณฑ์ อินทรเสน หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานโครงการชลประทานน่าน กล่าวต้อนรับผู้บริหารกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนสัญจรลงพื้นที่จังหวัดน่าน พร้อมกับนำเสนอปัญหาการบริหารการใช้น้ำโครงการชลประทานอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในจังหวัดน่าน และนางสาวบุณฑริก นุตสาระ รองผู้จัดการโครงการ นำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงโครงการชลประทานขนาดกลางในเขตจังหวัดน่าน 6 โครงการ คือโครงการฝายน้ำกอน โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำพง อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ โครงการฝายสมุน โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแฮต โครงการฝายสา และโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำแหง ก่อนนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแฮต ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน พบปะ คณะบริการอบต.ฝายแก้วโดยการนำของพ.ต.ท.ประสิทธิ์ กลาสี นายก อบต.ฝายแก้ว อาสาสมัครชลประทาน และกลุ่มผู้ใช้น้ำห้วยแฮต ซึ่งเป็นกลุ่มจัดการบริหารน้ำให้แก่ประชาชน เกษตรกร ดีเด่นได้รับรางวัลเลิศรัฐ จากแนวคิด “ น้ำน้อย ย่อมแพ้ใจ อ่างเก็บน้ำห้วยแฮต จังหวัดน่าน ”
จ่าสิบเอกอุดม มาขวา ประธานกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยแฮต ให้สัมภาษณ์ว่า จัดตั้งกลุ่มบริหารจัดการน้ำเมื่อปี 2548 ใช้หลักการทำงานตามแนวทางในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ส่วนความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำ ใจต้องมาก่อน ทุกคนในกลุ่มรู้จักการแบ่งปัน ใช้มติที่ประชุมเป็นสำคัญ ฟังความคิดเห็นความต้องการประชาชน แบ่งโซน กำหนดใช้น้ำตามรอบเวรปล่อยน้ำ ส่วนการปลูกพืช จะกำหนดชนิดพืชที่ปลูก กำหนดห้วงเวลาทำนา ฤดูแล้งปลูกพืชใช้น้ำน้อย จึงไม่เกิดปัญหาขัดแย้งการแย่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ อ่างเก็บน้ำห้วยแฮต สร้างเมื่อปี 2524 -2526 ใช้ประโยชน์ถึงปัจจุบัน 20 กว่าปี พื้นที่เพาะปลูกกว่า 2,760 ไร่ ได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ/บัญชา เหมืองหม้อ/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน