ม.ทักษิณ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ ICASD 2025 ผนึกพลังนักวิจัยทั่วโลก ขับเคลื่อนภูมิภาคอาเซียนสู่ความยั่งยืน
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผนึกกำลังนักวิจัยทั่วโลก จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียน ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ: การเร่งการขับเคลื่อนความร่วมมือแก้ปัญหาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน The 2nd International Confence on ASEAN Sustainable Development (ICASD : 2025) Theme : Accelerating Action: Collaborative Solutions for A Sustainable Future ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2568 ณ โรงแรมคอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ต ทาวน์ จังหวัดภูเก็ต โดยมี อาจารย์ ดร.พิทยาธร แก้วคง รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักวิจัย คณาจารย์ นิสิต และนักศึกษา เข้าร่วมจำนวนมาก
การประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ ได้รวบรวมนักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาเพื่อแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและเสริมสร้างเครือข่ายทางวิชาการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการมุ่งเน้นไปที่ 5 P ของการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ ผู้คน ความเจริญรุ่งเรือง โลก สันติภาพ และความร่วมมือ ICASD 2025 มีการนําเสนอด้วยวาจามากกว่า 50 บทความวิจัย โดยได้รับความร่วมจากสถาบันวิจัยและนวัตกรรม คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตรและชีวภาพ งานวิเทศสัมพันธ์ ศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรและผลิตภัณฑ์ชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยทักษิณ Moncton University ประเทศแคนาดา University Ulara Malaysia ประเทศมาเลเซีย Myanmar Creative University ประเทศพม่า Scientists and Engineering Without Border ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (South Korea) และ IMT-GT (Indonesia – Malaysia – Thailand Growth Triangle) เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการในระดับนานาชาติให้กับอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัยในระดับนานาชาติ
นอกจากนี้ ยังมีการ การบรรยายพิเศษทางวิชาการ หัวข้อ Korea’s Policy Direction for internalional Carbon Reductio and Sustainable International Development Cooperation in Respons to Climate Change โดย Prof. Dr. Min-Soo Maeng จาก Department of Civil & Environment Engineering Dankook University, Korea. การบรรยายพิเศษทางวิชาการ หัวข้อ Biodegradalion of Feather Keralin by Thermophilic Fervidobacterium Species : Structural and Mulli-omics Insights. โดย Prof. Dr. Birkeland Nils Kaare จาก Department of Biology Bergen Universily, Norway และ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยทักษิณได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมกับสถาบันระหว่างประเทศที่หลากหลายเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือแก้ปัญหาเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนต่อไป